Data Backup กับ Toy story 2 ที่เกือบถูกตัดทิ้งเพราะไฟล์หนังหายไปเกือบ 90%
Data Backup กับ Toy story 2 ที่เกือบถูกตัดทิ้งเพราะไฟล์หนังหายไปเกือบ 90%
ก่อนอื่นคุณรู้หรือไม่ว่า ทำไมเราต้อง Backup ข้อมูล ? จากสถิติแล้ว..(http://www.worldbackupday.com/en/)
1 ใน 10 ของเครื่องคอมพิวเตอร์จะติดไวรัสในทุกๆเดือน
30% ของคนเราเนี่ย ไม่เคยที่จะ Backup ข้อมูลเลย
ในทุก ๆ ปีมีโทรศัพท์กว่า 70 ล้านเครื่องสูญหาย
จากข้อมูลข้างบนที่กล่าวไปเราเห็นได้ชัดเลยว่า ข้อมูลของคนเรามีโอกาศหายตลอดเลยเวลาเลย ถ้าไม่ใช่ข้อมูลสำคัญก็คงไม่เป็นอะไร แต่ถ้าเป็นข้อมูลสำคัญ ๆ เช่น ไฟล์หนังทั้งเรื่องที่ใช้เวลาสร้างมา 1 ปีเต็มหละ….วันนี้เรามีเรื่องราวเกี่ยวกับการ Backup ข้อมูล ในการสร้าง Toy Story 2 ที่ทำให้เรารู้ว่า การ Backup เป็นสิ่งสำคัญมากๆ เลย..
เรื่องราวเริ่มต้นจากที่มีทีมงานคนหนึ่งได้เผลอใช้คำสั่ง “ลบทุกอย่างทันที” กับไฟล์หนังที่ถูกเก็บอยู่ไดรฟ์ และองค์ประกอบในหนังก็ค่อยๆถูกลบไปทีละอย่าง ทีละอย่างท่ามกลางสายตาของทุกคน
พวกเขาแก้ปัญหานี้ด้วยการดึงปลั๊กเครื่อง Server หลักที่เก็บไฟล์หนังไว้ออก แต่ก็สายไปเพราะหนังถูกลบไปกว่า 90% แล้ว.. ยังดีที่ Pixar มีการเปิด Backup ไว้ตลอดเวลาอยู่แล้ว จึงไม่ได้ตื่นตระหนกมากนัก
และหลังจากที่ ไปเช็กใน Backup กลับพบว่าข้อมูลของหนังไม่ได้สำรองไว้อย่างที่มันควรจะเป็น เพราะมันเสียไปสองเดือนแล้ว จริง ๆ แล้วการ Backup ต้องมีการตรวจเช็กทุก ๆ 2-3 วัน หรือ อาทิตย์ละครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่ามีการ Backup ข้อมูลอยู่ตลอด แต่ในช่วงนั้น Pixar ไม่ได้มีการตรวจเช็กระบบสม่ำเสมอ จึงทำให้ไฟล์ที่กู้คืนมาได้นั้นมีความเสียหายและไม่สมบูรณ์
ยังโชคดีที่มีพนักงานคนหนึ่ง ได้ Backup ข้อมูลไว้ในคอมพิวเตอร์ เพราะเธอคลอดลูกจึงต้องทำงานที่บ้านช่วงหนึ่ง Pixar จึงได้ข้อมูลและฟุตเทจกลับมาได้สำเร็จทั้งหมด 70,000 ไฟล์ แต่ยังต้องตรวจสอบทีละไฟล์ด้วยตาเปล่าอีก 30,000 ไฟล์ และมีเวลาในการสร้างภาพยนต์ต่อภายใน 9 เดือน ก่อนที่ตัว Official จะถูกปล่อยออกไป
ความผิดพลาดของคอมพิวเตอร์สามารถใช้เครื่องมือ หรืออะไรต่างๆ มาแก้ปัญหานี้ได้ แต่ความผิดพลาดของมนุษย์ที่เเกิดจากความเผลอเรอ หรือ อะไรต่างๆ ก็อาจจะทำให้เกิดหายนะได้เลย เช่น การกดแป้นพิมผิดหนึ่งครั้งอาจจะหมายถึงงานที่ใช้คนจำนวนมาก ทำมาทั้งปี หายไปใน 3 วินาที คล้ายกับการกดเปิดอีเมลที่มี Ransomeware แค่ 1 คลิ๊ก ก็สร้าง effect ให้กับไฟล์งานของคุณได้
ไม่ว่าธุรกิจของคุณจะจัดอยู่ในประเภทใด การสำรองข้อมูลก็เป็นสิ่งแรก ๆ ที่ควรให้ความสำคัญ อย่าง กรณีตัวอย่างข้างต้นแสดงให้เห็นว่า การสำรองข้อมูลไว้ใน on-premise อาจจะไม่เพียงพอ ควรที่จะ สำรองไว้ใน off-premise ด้วยเช่นกัน อย่างเช่น บน cloud หรือการใช้บริการ Backup service ก็เป็นความคิดที่ดีเลยก็ว่าได้
แล้วข้อมูลใดบ้างที่ควรจะ Backup ไว้ ? โดยพื้นฐานแล้วเราควรจะสำรองข้อมูลที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้หากสูญหาย เช่น เอกสารสำคัญ ที่อยู่ รูปภาพ วิดีโอ อีเมล เอกสารข้อมูลทางการเงิน ในฝั่งของธุรกิจหรือในองค์กร ข้อมูลที่ควรสำรองไว้ ส่วนมากจะเป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับลูกค้าและการเงิน
แล้วเราจะเก็บข้อมูลได้ที่ใดบ้าง ? ควรพิจารณาจากพื้นที่ที่เราต้องการจะใช้ เพราะไม่มี Storage Solution ใด เหมาะสมกับการทำงานทุกแบบ… ซึ่งการ Backup ทั่วไปจะมีดังนี้
• Removable media เป็น storage หน่วยที่เล็กที่สุด ที่เอาไว้ใช้ย้ายข้อมูลจาก device หนึ่ง ไปยัง device หนึ่ง เช่น CD, DVD, Flashdrive, และอื่นๆ โดยการสำรองข้อมูลแบบนี้จะไม่ปลอดภัยเท่าการสำรองข้อมูลแบบอื่น ๆ เพระามีโอกาศที่จะถูกขโมยหรือสูญหายได้ ความจุส่วนมากจะอยู่ที่ 128MB ถึง 256GB
• External hard drive จะเชื่อมกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ผ่านสาย หรือมีแบบไร้สายด้วยเช่นกัน เช่น Flashdrive และ SSD ข้อดีคือสามารถพกพาได้ง่ายเหมือน Removable media แต่สามารถที่จะจุข้อมูลได้มากกว่า ตั้งแต่ 128GB ถึง 10TB
• Cloud backup เป็น storage ที่มีความยืดหยุ่นมาก สามารถเลือกความจุที่เราต้องการได้ อีกทั้งสามารถเข้าถึงข้อมูลที่อยู่ใน Cloud ได้จากทุกที่ ทุกเวลา จากทั้ง โทรศัพท์ แทปแลต หรือ คอมพิวเตอร์ พร้อมทั้งมีความปลอดภัยด้วย encrypt ข้อมูล โดย Cloud storage ทั่วไปที่เราใช้กันอยู่ คือ iCloud, Google Drive, or Dropbox ซึ่งสามารถเลือกซื้อได้ที่ https://bit.ly/3g7ZvRE
• Backup service คือการที่เราเช่าพื้นที่เพื่อสำรองข้อมูลไม่ว่าจะเป็นแบบ Physical หรือ แบบ Cloud ซึ่งข้อดีก็คล้ายกับการจัดเก็บบน Cloud ที่ช่วยประหยัดเวลาในการสำรองข้อมูลที่มีมากๆ และมีความสำคัญคัญกับคุณหรือองค์กร ซึ่งถ้าคุณกำลังมองหา Backup service สามารถสอบถามมาได้ทาง Line @monsterconnect
Written by Nutthaka Ch.
Ref
1. https://dbtechnologies.com.au/toy-story-2-disaster-recovery-case-study/
2. https://us.norton.com/internetsecurity-how-to-the-importance-of-data-back-up.html
Leave a comment